“กรมธนารักษ์” เชิญประชาชนทั่วไปที่มีที่ดินติดที่ราชพัสดุเสนอขายที่ดินเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาอสังหาฯ ของรัฐ โดยกำหนดเงื่อนไขผู้ขายต้องเป็นเจ้าของที่ดิน หรือที่ดินนั้นจะต้องอยู่ติดกับที่ราชพัสดุ
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า กรมธนารักษ์ได้กำหนดแนวทางในการจัดหาที่ราชพัสดุที่มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐเพื่อให้สํานักบริหารที่ราชพัสดุกรุงเทพมหานคร สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ทั้ง 76 พื้นที่ และหน่วยงานส่วนกลางที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ราชพัสดุ ใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกแปลงที่ดินราชพัสดุที่มีความจําเป็นร้องขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ดังนี้ 1.ลักษณะที่ราชพัสดุที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ แบ่งเป็น 2 กรณีคือ
กรณีที่ 1 การจัดซื้อที่ดิน ควรมีเงื่อนไขเบื้องต้นดังต่อไปนี้ 1.ที่ราชพัสดุที่เป็นที่ดินตาบอด หมายถึง ที่ราชพัสดุ ที่มีที่ดินเอกชนล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงถนนสาธารณะได้ 2.ที่ดินราชพัสดุตั้งอยู่ในซอยแคบ ไม่สามารถปลูกสร้างอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร จําเป็นต้องซื้อที่ดินเพื่อขยายทางเข้าออก หรือที่ราชพัสดุตั้งอยู่ในซอยแคบปลูกสร้างอาคารได้ ความสูงจํากัด ซึ่งหากซื้อที่ดินเพื่อเป็นทางเข้าออกสู่ถนนที่กว้างกว่าจะทําให้ปลูกสร้างอาคารได้สูงขึ้น
3.ที่ราชพัสดุที่มีรูปแปลงไม่เหมาะสมปลูกสร้างอาคารหรือนําไปพัฒนาได้ยาก 4.ที่ดินราชพัสดุมีขนาดเล็กไม่เหมาะสม จำเป็นต้องจัดซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อใหสามารถนำไปพัฒนาหรือปลูกสร้างอาคารได้ 5.ที่ดินราชพัสดุล้อมรอบที่ดินเอกชน ทําให้ที่ดินเอกชนเป็นที่ดินตาบอด ไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเต็มศักยภาพ หากผนวกที่ราชพัสดุรวมที่ดินเอกชนแปลงดังกล่าวแล้ว จะทำให้ใช้ประโยชนที่ดินได้เต็มศักยภาพ
กรณีที่ 2 การปลดภาระติดพัน ควรมีเงื่อนไขเบื้องต้นดังต่อไปนี้ 1.ทางจําเป็น ซึ่งเกิดจากกรณีที่ที่ดินถูกล้อมจนไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมอยู่จะต้องยินยอมให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมผ่านที่ดินของตนออกไปสู่ทางสาธารณะ 2.ภาระจํายอม เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องยอมรับภาระบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนถึงการใช้สิทธิในทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น 3.สิทธิอาศัย ทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งซึ่งผู้ทรงสิทธิมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยในโรงเรือนของผู้อื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า
4.สิทธิเก็บกิน ทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งซึ่งผู้ทรงสิทธิเก็บกินในอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินนั้น 5.การรอนสิทธิในที่ราชพัสดุ เหตุที่ทําให้ที่ดินราชพัสดุไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ หรือเข้าไปหาประโยชน์ได้อันเนื่องมากจากมีบุคคลอื่นมีสิทธิเหนือพื้นดินดังกล่าว เช่น ที่ดินราชพัสดุที่มีศกัยภาพสูงแต่ติดสัญญาเช่าระยะยาวกับผู้เช่า จําเป็นจะต้องชําระเงินชดเชยให้ผู้เช่าเพื่อนําที่ดินราชพัสดุไปพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการต่อไป
อย่างไรก็ตาม กรมธนารักษ์ยังได้เงื่อนไขจำเป็นเพื่อขอรับการส่งเสริมจากกองทุนฯ ที่ดินดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพสูง มีข้อกำหนดผังเมืองที่อนุญาตให้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และต้องไม่ตั้งอยู่ในผังเมืองประเภทสีน้ำเงิน-สถาบันราชการ หรืออยู่ในการคุ้มครองของกฎหมายพิเศษ เช่น อยู่ในอุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้ เจ้าของแปลงที่ดินเอกชนที่จะจัดซื้อหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับภาระติดพันประเภทต่างๆ ยินดีจะขายที่ดินหรือยินยอมที่จะปลดภาระผูกพันในที่ราชพัสดุ
"เงื่อนไข" - Google News
June 22, 2020 at 03:23PM
https://ift.tt/3hQaxLh
“ธนารักษ์” ประกาศเงื่อนไขรับซื้อที่ดินเอกชน หวังใช้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ - ผู้จัดการออนไลน์
"เงื่อนไข" - Google News
https://ift.tt/2XGwUcI
Home To Blog
No comments:
Post a Comment