แจกเงิน 3000 บาท ลุ้น “กระทรวงการคลัง” จ่อเปิดลงทะเบียนเร็วๆ นี้ ผ่าน www. คนละครึ่ง .com เช็คเงื่อนไขที่นี่ ยันไม่เอื้อทุนใหญ่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังสรุปรายละเอียดของมาตรการ “คนละครึ่ง” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) โดยมีหลักการ คือ รัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้ผู้สมัครและมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการในสัดส่วน 50% ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน โดยผู้มีสิทธิ์ต้องมียอดการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่เป็นกระเป๋าตังอิเล็กทรอนิกส์ (อี-วอลเล็ต) ขั้นต่ำ 100 บาทต่อวัน โดยที่ร้านค้าจะหักเงินของผู้ใช้ไป 50 บาท ส่วนที่เหลือ 50 บาท รัฐบาลเป็นฝ่ายจ่ายให้แก่ร้านค้า
อย่างไรก็ตาม สำหรับร้านสะดวกซื้อ จะสามารถเข้าร่วมโครงการได้หรือไม่ สศค. กำลังพิจารณาภายใต้โจทย์ที่ว่าจะใช้ร้านค้าเป็นที่ตั้ง หรือประชาชนเป็นที่ตั้งเพื่อเข้าร่วมมาตรการ เพราะต้องการให้ร้านค้าขนาดเล็ก เช่น โชห่วย ร้านขายอาหารต่างๆ เป็นต้น ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ มากที่สุด คาดว่าจะเริ่มต้นโครงการได้ในเดือนตุลาคมนี้ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและเศรษฐกิจในปลายปีนี้ โดยใช้เงินจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้ฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท
นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบศ.) ชุดที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ว่า ศบศ.เห็นชอบมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศวงเงิน 45,000 ล้านบาท
โดยวัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน ส่งเสริมการบริโภค และช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไปครอบคลุมถึงผู้ประกอบการหาบเร่แผงลอย โดยรัฐบาลจะช่วยค่าใช้จ่าย 50% และอีก 50% ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเองในวงเงินไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน เพื่อเอาไปใช้จ่ายซื้อของ ซึ่งจะต้องมาลงทะเบียนรับสิทธิ์ในโครงการลักษณะเดียวกับ “ชิมช้อปใช้”
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รับสิทธิ์ มีดังนี้
- มีสัญชาติไทย
- อายุ 18 ปีขึ้นไป
โดยจำกัดไว้ที่ 15 ล้านคน สมัครเข้าร่วมโครงการแบบใครมาก่อนได้ก่อน รัฐจะ แจกเงิน 3000 บาท ให้ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของธนาคารกรุงไทย
ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ
- ร้านค้าทั่วไป
- หาบเร่
- แผงลอย ที่เป็นรายย่อย
เงื่อนไขการใช้จ่าย
- ใช้ได้ไม่เกินวันละ 100 – 250 บาท
- รัฐบาลจะช่วยค่าใช้จ่าย 50% และอีก 50% ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเอง
- ครอบคลุมอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้า ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และบุหรี่
- มีระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2563
ขณะที่กลุ่มร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ จะมุ่งเน้นไปที่ร้านค้ารายย่อยทั่วไป ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการหาบเร่ แผงลอย ประมาณ 80,000 ร้านค้า ผ่านกลไกการดำเนินงานผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล โดยที่ประชุมมีมติให้กระทรวงการคลังจัดทำรายละเอียดโครงการ เพื่อนำเสนอต่อ ศบศ. ภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ คาดจะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ 90,000 ล้านบาท
“มาตรการ แจกเงิน 3000 บาท ทาง ศบศ.ให้กระทรวงการคลังไปดูรายละเอียดและนำกลับมาเสนอ ศบศ.เห็นชอบอีกครั้ง เพื่อเข้า ครม. คาดว่าจะเริ่มโครงการเดือนตุลาคม 2563” นายดนุชา กล่าว
ด้าน น.ส. ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงโครงการแจกเงิน 3000 บาท ก่อนหน้านี้ว่า ตามที่สื่อบางสำนัก รายงานโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ประชาชน 15 ล้านสิทธิ์ รับ 3,000 บาท เพื่อจับจ่ายใช้สอย เป็นการเอื้อทุนใหญ่ เงินเข้ากระเป๋าห้างสรรพสินค้า และ ร้านสะดวกซื้อ รัฐบาลขอชี้แจงว่า โครงการดังกล่าว เป็นมาตรการทางเศรษฐกิจ เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ที่ต่อยอดจากโครงการชิมช้อปใช้
โดยร้านค้าที่เข้ามาโครงการ จะยังเหมือนเดิม แต่วัตถุประสงค์หลัก ของโครงการนี้ เพื่อขยายร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีเป้าหมาย คือกลุ่มร้านค้าหาบเร่แผงลอย ร้านโชห่วย ร้านขายข้าวแกง ร้านขายอาหาร และ เครื่องมือตามตลาด หรือ ตลาดนัด เป็นต้น เพื่อกระจายรายได้ลงสู่ผู้ประกอบการรายเล็กให้ได้มากที่สุด
“รัฐบาลได้กำหนดหลักการเบื้องต้น ให้สามารถใช้จ่ายได้วันละ 100 บาท โดยรัฐออกค่าใช้จ่ายให้ 50% ผู้ได้รับสิทธิ์ออกเอง 50% ให้สอดคล้องในการจับจ่ายใช้สอยกับผู้ประกอบการรายเล็ก เช่น การซื้ออาหาร เครื่องดื่ม ตามร้านค้าหาบเร่แผงลอง หรือร้านโชห่วย” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
น.ส.ไตรศุลี กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการดังกล่าว รัฐบาลต้องการช่วย เรื่องค่าครองชีพของประชาชน พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ลงไปสู่ผู้ค้ารายเล็กรายน้อย หลังจากที่ได้ผลกระทบ จากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยไม่ได้ตั้งเป้า ให้เงินเข้ากระเป๋าทุนใหญ่แต่อย่างใด แม้โครงการดังกล่าว จะมีห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อเข้าร่วมก็ตาม แต่จะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์การใช้จ่ายนั้น เอื้อให้มีการซื้อของกับผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อยจริงๆ
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงโครงการ แจกเงิน 3000 บาทเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยระบุว่า มาตรการช่วยเหลือประชาชน จากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด โดยการช่วยค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน 15 ล้านคน ในวงเงิน 3,000 บาทต่อคนว่า มาตรการดังกล่าว เป็นเพียงหลักการเบื้องต้น ที่ทางกระทรวงการคลัง ได้นำเสนอในที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบศ. เท่านั้น ยังไม่ได้เป็นข้อสรุป ที่จะอนุมัติให้ดำเนินการโครงการแต่อย่างใด“โครงการดังกล่าว อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม ศบศ. ครั้งต่อไปภายในสองสัปดาห์ข้างหน้า” นายอนุชา กล่าว
อย่างไรก็ตาม จากนี้กระทรวงการคลัง กำลังดำเนินการจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น ทั้งในส่วนของประชาชน ที่จะลงทะเบียนได้รับสิทธิ์ และร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยขอให้ครอบคลุม ผู้ประกอบการรายย่อยให้ได้มากที่สุด และเมื่อกระทรวงการคลัง ได้ข้อสรุป จะนำเสนอเพื่อขอมติจาก ศบศ. และนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนได้มั่นใจว่า รัฐบาลจะดำเนินการโครงการ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ด้วยความรอบคอบ และให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชนทั่วไป เงินช่วยเหลือดังกล่าวนี้ รัฐบาลตั้งใจ ที่จะให้ประชาชนสามารถนำไปใช้จ่ายได้ที่ร้านค้าทั่วไป ร้านหาบเร่แผงลอย ร้านโชห่วยต่างๆ รวมถึง การซื้อสินค้าในตลาดสดและตลาดนัด เพื่อให้ผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้า สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ให้ได้มากที่สุด และเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลได้อย่างเต็มที่
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend Follow"เงื่อนไข" - Google News
September 14, 2020 at 10:09AM
https://ift.tt/3iu9eBw
ลุ้นเลย! จ่อเปิดลงทะเบียนแจกเงิน 3000 บาท เช็คเงื่อนไขที่นี่ - thebangkokinsight.com
"เงื่อนไข" - Google News
https://ift.tt/2XGwUcI
Home To Blog
No comments:
Post a Comment