29 สิงหาคม 2563
170
“การบินไทย” ตั้งโต๊ะแจงผู้ถือหุ้น 4 ปัจจัยฟื้นฟูสำเร็จ ยืนยันมีเงินสดพอหมุนเวียนถึง พ.ย.
นายชาย เอี่ยมศิริ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายธุรกิจปิโตรเลียม ประกันภัยและสิ่งแวดล้อม ในฐานะรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการเงินและการบัญชี บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวระหว่างให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้อง (Public Presentation) เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2563 ว่า ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขึ้นเครื่องหมาย C บนหลักทรัพย์ของการบินไทยตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค.2563 อันเนื่องมาจากการที่บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 50% ของทุนชำระแล้วตามงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2563
รวมทั้งศาลล้มละลายกลางได้รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทยไว้ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค.2563 โดยศาลล้มละลายนัดอ่านคำสั่งการฟื้นฟูกิจการและรายชื่อผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการตามที่การบินไทยเสนอวันที่ 14 ก.ย.2563
ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย.2563 ซึ่งเป็นวันที่สิ้นสุดงบการเงินไตรมาส 2 ส่วนของผู้ถือหุ้นของการบินไทยติดลบเพิ่มเป็น 1.82 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ติดลบ 1.25 หมื่นล้านบาท คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบจาก -57.6% เพิ่มเป็น -83.5%
โดยส่วนของผู้ถือหุ้นที่ลดลงมาจากการขาดทุนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปีนี้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ธุรกิจการบินไม่สามารถทำได้ รวมทั้งหลักการคิดบัญชีตามมาตรฐานทางบัญชี TFRS 9 และ 16 ทำให้คิดการด้อยค่าสินทรััพย์จากการเช่าเครื่องบินพาณิชย์เพิ่มด้วย
อย่างไรก็ตามการฟื้นฟูกิจการของการบินไทยมีปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการฟื้นฟู มี 4 ประการ ได้แก่
1.การได้รับความสนับสนุนจากเจ้าหนี้ ในการสนับสนุนรายชื่อผู้จัดทำแผนฟื้นฟูฯและแผนฟื้นฟูกิจการ
2.การให้การสนับสนุนจากรัฐบาล โดยขณะนี้ภาครัฐได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการติดตามความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาการบินไทย และมีการติดตามความคืบหน้าและช่วยแก้ไขอุปสรรค
3.การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลักของการบินไทยในปัจจุบันและยังส่งผลกระทบต่อการเดินทางด้วยเครื่องบินในอนาคต
4.ผลกระทบจากเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน เช่น เศรษฐกิจโดยรวม การระบาดของโรคอุบัติใหม่ การแข่งขันอย่างรุนแรงของสายการบินต่างๆ กฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการบิน
ทั้งนี้ ขั้นตอนของการฟื้นฟูกิจการในส่วนของรายละเอียดจะมีความชัดเจนหลังจากศาลล้มละลายกลางเห็นชอบให้บริษัทเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบผู้ทำแผนฯตามที่บริษัทเสนอคาดว่าการทำแผนฯจะใช้เวลา 5 เดือน ซึ่งขณะนี้แม้จะมีข้อสังเกตว่าบริษัทอาจคงเหลือสภาพคล่องที่ใช้สำหรับการดำเนินกิจการถึงเดือน พ.ย.ปีนี้ แต่ความเป็นจริงได้พยายามลดค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของพนักงานและต้นทุนอื่น
ประกอบกับพยายามหารายได้เพิ่มทั้งธุรกิจสายการบินที่ให้บริการในประเทศ บริการเช่าเหมาลำ และขนส่งสินค้า ตลอดจนรายได้นอกธุรกิจการบิน เช่น ครัวการบิน การให้เช่าอาคาร สำนักงาน โดยในธุรกิจสายการบินพบว่าสายการบินไทยสไมล์ที่กลับมาให้บริการตั้งแต่เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา สร้างรายได้ให้บริษัทมากขึ้น รวมทั้งได้หารือกับสถาบันการเงินบางแห่งไว้แล้วกรณีต้องใช้แหล่งเงินทุนเพิ่มเติม
“การวางแผนฟื้นฟูธุรกิจการบิน จำนวนเครื่องบินในฝูงบิน เส้นทางการบิน อยู่ระหว่าทำแผน ซึ่งได้จ้างที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญการบินระดับโลกมาช่วยวางแผนเส้นทางการบิน รวมถึงจำนวนเครื่องบิน เพื่อให้พร้อมกลับมาทำธุรกิจปกติ ส่วนไทยสไมล์นั้นบริษัทยังคงสนับสนุนให้เป็นสายการบินในประเทศ ซึ่งมั่นใจว่าจะมีผลประกอบการที่ดี แม้จะขาดทุนในปีก่อนแต่ถือว่าขาดทุนลดลง และไทยสไมล์ได้รับการยอมรับสูงจากภายในและต่างประเทศ”นายชาย กล่าว
สำหรับความคืบหน้าการเจรจากับเจ้าหนี้พบว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าตามลำดับ โดยเจ้าหนี้รายใหญ่รวมทั้งรายย่อยในสัดส่วนเกินกว่า 50% ของหนี้ทั้งหมดยืนยันไม่คัดค้านแผนฟื้นฟู
ส่วนหนี้ที่เป็นค่าตั๋วโดยสารบริษัทได้ขยายระยะเวลาใช้ตั๋วเครื่องบินไปได้ถึงสิ้นปี 2565 ขณะที่ในการจัดทำแผนฟื้นฟูฯ ที่วางแผนไว้เจ้าหนี้ค่าตั๋วเครื่องบินทุกรายจะได้รับการเยียวยาและดูแลโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นแผนงานที่คณะผู้ทำแผนฯตั้งใจจะทำหากได้รับการรับรองจากศาลล้มละลายกลาง
"เงื่อนไข" - Google News
August 29, 2020 at 04:22AM
https://ift.tt/31DEgRJ
'การบินไทย' แจงผู้ถือหุ้น 4 เงื่อนไขฟื้นฟูสำเร็จ - กรุงเทพธุรกิจ
"เงื่อนไข" - Google News
https://ift.tt/2XGwUcI
Home To Blog
No comments:
Post a Comment