Pages

Sunday, July 26, 2020

ประกันสังคมมาตรา 33 ได้เงิน 1.5 หมื่นบาทกลางเดือน ส.ค. ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม - thebangkokinsight.com

sandratersandra.blogspot.com

ผู้ประกันตนมาตรา 33 เกือบ 6 หมื่นราย ที่เข้าข่ายว่างงานตามเงื่อนไขคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำลังจะได้รับเงินชดเชยรายได้ จำนวน 5,000 บาท 3 งวด รวมเป็น 15,000 บาท

สำหรับเงื่อนไขในการรับเงินครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี และทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น “พนักงานเอกชน”

2. ผู้ประกันมาตรา 33 ดังกล่าวจะต้องเพิ่งว่างงาน และจ่ายเงินสมทบประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน ภายในเวลา 15 เดือนย้อนหลัง ทำให้ไม่เข้าเงื่อนไขการรับเงินทดแทนระหว่างว่างงานจากกองทุนประกันสังคม

นอกจากนี้ ยังไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ในสัดส่วน 62% ของค่าจ้างรายวัน และไม่เคยได้รับเงินเยียวยาจากโครงการอื่นๆ ของภาครัฐ เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการเยียวยากลุ่มเปราะบาง เป็นต้น

ประกันสังคมมาตรา 33

นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ รองเลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษก สปส. เปิดถึงความคืบหน้าของโครงการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวให้ ประกันสังคมมาตรา 33 กับพีพีทีวีออนไลน์ว่า ลูกจ้างที่มีสิทธิ์รับเงินชดเชยรายได้ 15,000 บาทจำนวนเกือบ 6 หมื่นคน ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่

“ยืนยันว่าขณะนี้มีข้อมูลและจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ที่แน่ชัดแล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม”

สาเหตุเกิดจากสำนักงานประกันสังคมได้คัดแยกรายชื่อออกมาแล้ว โดยคัดกรองจากกิจการที่มาขึ้นทะเบียนรับรองขอเงินชดเชยให้ลูกจ้างก่อนนี้ แต่ก็มีผู้ประกันตนบางส่วน ซึ่งเป็นส่วนน้อย ที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน ทางสำนักงานประกันสังคมก็จะติดต่อขอข้อมูลกลับไป

โดยเงิน 15,000 บาท จะโอนเข้าบัญชีผู้ประกันตนได้ ไม่เกินกลางเดือนสิงหาคม 2563 สอดคล้องกับที่นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โฆษกกระทรวงการคลัง ให้สัมภาณ์ไว้ก่อนหน้านี้

สำหรับ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ทั่วไปที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 6 เดือน สามารถรับเงินทดแทนกรณีว่างงานได้ตามปกติ

โดยล่าสุดรัฐบาลได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ทดแทนระหว่างว่างงานแก่ประกันสังคมมาตรา 33 ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง เป็นระยะเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อรองรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

1.ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินว่างงานในอัตรา 70% ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 200 วัน ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน จากเดิมจะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างเงินกรณีถูกเลิกจ้างในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ปีละไม่เกิน 180 วัน

2.ผู้ประกันตนลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินว่างงานในอัตรา 45% ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 90 วัน  ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน จากเดิมจะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย ปีละไม่เกิน 90 วัน

สำหรับกรณีที่ ประกันสังคมมาตรา 33  ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุตามข้อ 1 หรือเหตุตามข้อ 1 และ 2  เกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 200 วัน

แต่ในกรณีขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเหตุตามข้อ 2 เกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 90 วัน

สำหรับผู้ประกันตนมาตราอื่น ได้แก่ มาตรา 39 จำนวน 1.7 ล้านราย และมาตรา 40 จำนวน 3.4 ล้านราย แม้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเหมือนมาตรา 33 แต่ก็จะได้สิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ แทน ดังนี้

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน โดยออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน ปัจจุบันมีผู้ประกันตนในระบบจำนวน 1,737,744 คน

โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้ เจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ทำอาชีพอิสระ ไม่มีนายจ้าง มีผู้ประกันตนในระบบจำนวน 3,374,151 คน

โดยผู้ประกันคนมาตรา 40 จะได้รับความคุ้มครอง 3-4-5 ขึ้นอยู่กับทางเลือก ดังนี้ เงินทดแทนการขาดรายได้ ทุพพลภาพ ชราภาพ (บำเหน็จ) สงเคราะห์ และเสียชีวิต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Add Friend Follow

Let's block ads! (Why?)



"เงื่อนไข" - Google News
July 27, 2020 at 10:28AM
https://ift.tt/30SoFMv

ประกันสังคมมาตรา 33 ได้เงิน 1.5 หมื่นบาทกลางเดือน ส.ค. ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม - thebangkokinsight.com
"เงื่อนไข" - Google News
https://ift.tt/2XGwUcI
Home To Blog

No comments:

Post a Comment