Pages

Monday, June 8, 2020

'การบินไทย' เผย 15 เงื่อนไขฟื้นฟูกิจการสำเร็จ - กรุงเทพธุรกิจ

sandratersandra.blogspot.com

“การบินไทย” คาดฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จภายใน 7 ปี จ่อลิสต์รายชื่อและแยกประเภทเจ้าหนี้ใน 2 เดือน หลังจัดตั้งผู้ทำแผน เผยปัจจุบันเริ่มเจรจาเจ้าหนี้ต่างชาติแล้วพบมีสัญญาณดี ผ่อนผันการชำระหนี้

บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้นหลังจากศาลล้มละลายกลางรับคำขอฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 27 พ.ค.2563 ทำให้หุ้น THAI ถูกขึ้นเครื่องหมาย C แต่ยังซื้อขายได้ด้วยบัญชี Cash Balance

นางอรอนงค์ ชุณหะมาน ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์และบริหารกลาง การบินไทย เปิดเผยถึงการดำเนินการกรณีถูกขึ้นเครื่องหมาย C ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) โดยระบุว่า เนื่องด้วยการบินไทยกำลังเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ เพราะมีหนี้สินจำนวนมาก และชำระหนี้ที่ถึงกำหนดและที่กำลังจะถึงกำหนดไม่ได้ สาเหตุจากการแข่งขันทางธุรกิจ การปิดน่านฟ้าเสรีและผลกระทบโควิด-19

วันที่ 13 ส.ค.2563 จะเป็นวันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ยื่นคำคัดค้านกรณีศาลล้มละลายรับคำร้องฟื้นฟูการบินไทย

วันที่ 17 ส.ค.2563 ศาลนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ

ปลายเดือน ส.ค.-ก.ย.2563 ศาลจะมีคำสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการ

กรณีศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนตามที่การบินไทยเสนอ ผู้ทำแผนต้องทำแผนให้เสร็จใน 3 เดือน จากนั้นต้องส่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เดือน ม.ค.2564 จากนั้นเดือน ก.พ.-มี.ค.2564 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะประชุมเจ้าหนี้พิจารณาแผนและปลายเดือน เม.ย.2564 ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟู ตั้งผู้บริหารแผนและเริ่มแผนฟื้นฟู

ทั้งนี้ หากกรณีที่มีเจ้าหนี้เสนอผู้ทำแผนแข่ง ขั้นตอนจะปรับเปลี่ยนเป็นช่วงเดือน พ.ย.2563 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเลือกผู้ทำแผนแทน และเดือน ม.ค.2564 ศาลจะแต่งตั้งผู้ทำแผน โดยผู้ทำแผนต้องจัดทำแผนภายใน 3 เดือน และส่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในเดือน เม.ย.2564 จากนั้นเดือน พ.ค.2564 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน และปลายเดือน มิ.ย.2564 ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบแผน และตั้งผู้บริหารแผนทำแผนฟื้นฟู

การดำเนินงานตามแผนต้องทำภายใน 5 ปีนับตั้งแต่ศาลเห็นชอบแผน โดยขยายกำหนดระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้งๆ ละ 1 ปี

การบินไทยเสนอแต่งตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟู คือ บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด รวมทั้งมีกรรมการการบินไทย 6 คน ดังนี้

1.พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน

2.นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล

3.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

4.นายบุญทักษ์ หวังเจริญ

5.นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์

6.นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาช่องทางการฟื้นฟูกิจการเบื้องต้น ประกอบด้วย 5 แนวทาง คือ

1.การปรับโครงสร้างหนี้ เจรจาเจ้าหนี้ โดยให้ภาระการชำระหนี้และระยะเวลาการชำระหนี้สอดคล้องกับกระแสเงินสด พร้อมหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องระยะสั้น และปรับโครงสร้างเงินทุนระยะยาว

2.ปรับปรุงเส้นทางการบินและฝูงบิน ด้วยการยกเลิกเส้นทางการบินที่ไม่ทำกำไร รวมทั้งปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการเส้นทางการบินและลดประเภทเครื่องบินเพื่อลดต้นทุน

3.ปรับปรุงองค์กรและหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบิน โดยเพิ่มความคล่องตัวในการบริการจัดการ เช่น ตั้งบริษัทย่อย จัดหาพันธมิตรทางธุรกิจร่วมทุน และหาโอกาสทางธุรกิจใหม่

4.ปรับปรุงกลยุทธ์ด้านการพาณิชย์และความสามารถในการหารายได้ โดยปรับปรุงระบบและรูปแบบการจำหน่ายบัตรโดยสาร เช่น อินเตอร์เน็ตและแพลตฟอร์มอื่นให้มากขึ้น

5.ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้กระชับ ลดงานที่ซ้ำซ้อน เพิ่มศักยภาพแต่ละหน่วยธุรกิจ ปรับจำนวนพนักงานและสิทธิประโยชน์ค่าตอบแทน และสวัสดิการของพนักงานได้ปรับเข้าระบบประกันสังคมตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลต่อความสำเร็จการฟื้นฟู 2 ปัจจัย คือ

1.ความร่วมมือของเจ้าหนี้ที่เพียงพอตามข้อกฎหมายทั้งการแต่งตั้งผู้ทำแผน การพิจารณาแผนและการแต่งตั้งผู้บริหารแผน

2.การสนับสนุนของรัฐบาลในการฟื้นฟูกิจการ ซ่ึงรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ปัญหาการบินไทย เพื่อติดตามและให้คำแนะนำ เพื่อให้การบินไทยฟื้ฟูได้สำเร็จ

รวมทั้งมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความสำเร็จอีก 13 ปัจจัย คือ

1.แนวโน้มอุตสาหกรรมการบินในอนาคต ครอบคลุม New Normal ในการเดินทาง การจำกัดจำนวนผู้โดยสารและค่าใช่จ่ายแฝง การแข่งขันในอุตสาหกรรมการบิน การชะลอตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ Disruptive Technology

2.สภาพเศรษฐกิจโดยรวม

3.นโยบายของรัฐบาลและความมั่นคงทางการเมือง

4.ภัยพิบัติและการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ

5.ความสามารถในการจัดหาทุน

6.ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

7.ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย

8.ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิเส้นทางและเวลาการบิน

9.การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

10.ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ

11.การผันผวนของราคาน้ำมัน

12.จำนวนหนี้ที่ยื่นขอรับชำระหนี้

13.ความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผน

เจ้าหนี้ผ่อนผันใช้เครื่องบิน

นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด (ที่ปรึกษากฎหมาย) กล่าวว่า ขั้นตอนทำแผนฟื้นฟูปกติพิจารณาแผน 3 เดือน หรือสูงสุดคือ 1 ปี หลังจากนั้นใช้เวลาบริหารแผน 5 ปี ดังนั้นแผนฟื้นฟูการบินไทยควรเสร็จใน 7 ปี

ขณะนี้การบินไทยเริ่มเจรจาเจ้าหนี้ผู้ให้เช่าเครื่องบินหลายรายแล้ว ซึ่งหลายรายผ่อนผันให้การบินไทยใช้เครื่องบินได้และไม่ยึดเครื่องบินช่วงทำการบินไปต่างประเทศ รวมทั้งได้ยื่นศาลต่างประเทศให้รับรองการฟื้นฟูกิจการ และผลของการมีสภาพบังคับของการฟื้นฟูกิจการในไทยแล้ว 2 ประเทศ จึงยืนยันว่ายังไม่มีเจ้าหนี้แจ้งยกเลิกสัญญาหรือยึดเครื่องบิน

ทั้งนี้สาเหตุที่ไม่ยื่น Chapter 11 ต่อศาลสหรัฐเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองทั่วโลกนั้น มองว่ายังไม่จำเป็น เพราะการเจรจากับเจ้าหนี้ต่างประเทศค่อนข้างดี โดยยังไม่ตัด Chapter 11 แต่ใช้เป็นทางออกสุดท้าย

“การแยกประเภทเจ้าหนี้จะอยู่ช่วงทำแผน แยกเป็นเจ้าหนี้เครื่องบิน เจ้าหนี้หุ้นกู้ เจ้าหนี้คืนตั๋วบัตรโดยสาร จะแยกหลังตั้งผู้ทำแผนใน 2 เดือน”

เตรียมแผนเสริมสภาพคล่อง

นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ฟินันซ่า จำกัด (ที่ปรึกษาการเงิน) ระบุว่า สภาพคล่องทางการเงินของการบินไทยช่วงที่ผ่านมาได้ลดต้นทุนและบริหารค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง รวมทั้งพิจารณากลับมาเปิดทำการบินตลอด แต่ต้องวิเคราะห์ความต้องการในการเดินทางด้วย

ส่วนแนวทางจัดหาแหล่งเงินทุนของการบินไทย เนื่องจากพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจแล้ว ดังนั้นกระทรวงการคลังจึงไม่ปล่อยเงินกู้หรือค้ำประกันเหมือนที่ผ่านมา แต่หลังจากศาลรับคำร้องฟื้นฟูกิจการ การบินไทยก็กู้เงินจากสถาบันทางการเงินได้ ซึ่งต้องผ่านการเห็นชอบจากศาล

ขณะที่แหล่งเงินทุนในอนาคตขึ้นกับผู้ทำแผนว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยแหล่งเงินทุนที่จัดหาได้ เช่น แปลงหนี้เป็นทุน หาพันธมิตรใหม่ เพิ่มทุน หรือขายสินทรัพย์ โดยแนวทางหาพันธมิตรใหม่นั้น ต้องพิจารณาจากความแข็งแกร่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากการรวมธุรกิจกับพันธมิตรด้วย

Let's block ads! (Why?)



"เงื่อนไข" - Google News
June 08, 2020 at 11:41PM
https://ift.tt/2ANgkjV

'การบินไทย' เผย 15 เงื่อนไขฟื้นฟูกิจการสำเร็จ - กรุงเทพธุรกิจ
"เงื่อนไข" - Google News
https://ift.tt/2XGwUcI
Home To Blog

No comments:

Post a Comment